Forex l หุ้น l การลงทุน l การซื้อขายออนไลน์ l ตลาดฟอร์เร็กซ์

สอนเล่น forex / บทความหน้ารู้ => Stock market ความรู้เกี่ยวกับหุ้น => การประเมินผลการลงทุน => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ เมษายน 19, 2015, 08:32:50 PM

หัวข้อ: ประเมินผลการเรียนรู้
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ เมษายน 19, 2015, 08:32:50 PM
ประเมินผลการเรียนรู้

                ในช่วงต้นเราเริ่มจากการวางแผนการลงทุน  และได้นำเอาแผนการนั้นไปลงทุน ตอนนี้เราจะมาดูว่าผลออกมาเป็นอย่างไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  ในส่วนนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราค่อยๆ  เรียนรู้กับตลาดหุ้น  และจะทำให้เรามีเชี่ยวชาญมากขึ้น  และอาจจะมากกว่านักลงทุนที่ลงทุนมานาน  แต่ไม่มีการลงทุนที่เป็นระบบ  ใช้ความรู้สึกและประสบการณ์เป็นที่ตั้งซึ่งนั่นก็จะคล้ายกับการเดาโดยใช้สถิติ  (ประสบการณ์)  ที่เก็บอยู่ในสมอง  ซึ่งจุดอ่อนก็คือ  สมองนั้นมักจะทำงานตามสภาพจิตใจทำให้การลงทุนขาดซึ่งเหตุผลในบางครั้ง  (แต่เรื่องของจิตใจนั้น  พูดง่ายแต่ทำยาก  ท่านต้องเรียนรู้จิตใจท่านให้ดี)  การประเมินผลลงบนกระดาษ และแยกความรู้สึกออกมา   จะทำให้การนำผลการเรียนรู้ไปใช้ จะใช้ได้อย่างมีเหตุผลกว่า

                การประเมินผลการเรียนรู้ของเราคือ  การเรียนรู้ข้อผิดพลาด  และหาเทคนิคจากสิ่งที่สำเร็จ  เพื่อพัฒนาการลงทุน วิธีที่เราใช้ คือการหาต้นเหตุของความผิดพลาดและต้นเหตุของความสำเร็จ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างการทำให้ดูเพียงเป็นแนวทาง

                เริ่มต้นจากการนำบัญชีกำไร – ขาดทุนจากการลงทุนมาพิจารณาดูว่าอะไรที่ได้กำไรมาก  และอะไรที่เราขาดทุนมาก ซึ่ง 2  อย่างนี้จะเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการหา  ต้นเหตุ (Root Cause) มากกว่าหุ้นที่กำไรและขาดทุนไม่มาก

               

                เราจะเริ่มจากการนำรายการกำไรขาดทุน  ซึ่งเป็น %  ไม่ใช่มูลค่าเพราะหุ้นแต่ละตัวเราอาจลงทุนไปไม่เท่ากัน  มีเรียงลำดับ และเราจะเลือกหุ้น A  ซึ่งมีผลกำไรดีที่สุด และหุ้น F ซึ่งมีผลขาดทุนมากที่สุด  มาพิจารณา

                วิธีการพิจารณา  เราจะใช้แผนภาพก้างปลามาหาสาเหตุการขาดทุนและกำไร การหาสาเหตุ  จะใช้การตั้งคำถาม  ถามตัวเอง่า “ทำไม”  ไปเรื่อยๆ  จนได้ต้นเหตุออกมา

                ในแผนภาพด้านล่างจะเป็นเพียงตัวอย่างที่ไม่ละเอียดนัก  หากท่านได้เลือกหุ้นขึ้นมาตัวหนึ่งเพื่อหาสาเหตุ  ถ้าท่านสามารถหาต้นเหตุที่เกิดขึ้นได้จริง จะพบว่าต้นเหตุหลักในหลาย ๆ ช่องจะซ้ำกัน  อาจจะเป็นการขาดการวางแผนการขาดเหตุผลในการซื้อขาย  (ความโลภ)  และต้นเหตุที่ซ้ำกันมากที่สุด  คือต้นเหตุหลักที่เราต้องนำมาแก้ไข และไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก

                ในทางตรงกันข้ามที่เราจะมาหาสาเหตุว่าทำไม การซื้อหุ้น A  จึงได้กำไรมาก  เมื่อเราถามตัวเองเรื่อยว่า  ทำไม? แล้วทำไม? แล้วทำไม ? ก็จะได้สาเหตุหลักมา ซึ่งเราจะนำความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาเป็นแผนในการปฏิบัติครั้งต่อ ๆ ไป