Forex l หุ้น l การลงทุน l การซื้อขายออนไลน์ l ตลาดฟอร์เร็กซ์

สอนเล่น forex / บทความหน้ารู้ => ความรู้เบื้องต้น forex => ข้อความที่เริ่มโดย: Teerapong ที่ พฤศจิกายน 13, 2016, 08:14:09 AM

หัวข้อ: การบังคับใช้กฏหมายและความเข้มงวดของ Broker ในแต่ละประเทศ ที่จดทะเบียน
เริ่มหัวข้อโดย: Teerapong ที่ พฤศจิกายน 13, 2016, 08:14:09 AM
การบังคับใช้กฏหมายและความเข้มงวดของ Broker ในแต่ละประเทศ ที่จดทะเบียน ในทุกๆแห่งทั่วโลกเองก็มีช่องโหว่ที่สามารถจะ ทำให้เกิด DD ได้ครับ ไม่ว่าเราจะจดใน อเมริกา หรือ ยุโรปหรือแม้แต่ประเทศ อย่าง ญี่ปุ่นเองก็ตาม แต่สาเหตุที่ Broker ไม่รับประชากรหรือผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศ อเมริกา ญี่ปุ่น เข้ามาใช้งาน เนื่องจาก

1 อเมริกา มีกฏหมายทางภาษีที่เข้มงวด หากพลเมืองของอเมริกา มีแหล่งรายได้ที่ใดก็ตาม หน่วยงานของรัฐบาลจะติดตามช่องทางและแหล่งที่มาของรายได้ ทำให้ต้องทำรายงานส่งอย่างเข้มงวด ดังนั้น จึงเป็นประเทศที่ทำให้เกิดปัญหามากมาย เพราะ หากมีการสงสัย หรือ ถูกเพ่งเล็ง อเมริกา จะบีบบังคับให้ ธุรกิจต้องปิดตัวลงและชดใช้ค่าเสียหายทันที ทำให้ พลเมืองของอเมริกาต้องใช้บริษัท Offshore ในการ ทำธุรกิจ หรือ หมุนเวียนเงินทุนจากภายนอกประเทศ ที่จดทะเบียนในประเทศ ที่ปลอดภาษี หรือ ตรวจสอบได้ยาก ในการเทรด

2 ญี่ปุ่น จะแตกต่างออกไป เพราะญี่ปุ่นจะอนุญาตให้ใช้ Broker ที่ผ่านมาตรฐานของตนเองเท่านั้นในการเทรด และ ที่สำคัญคือ โบรกเกอร์ของญี่ปุ่นจะไม่อนุญาตให้เปิดรับชาวต่างชาติ หรือ ให้บริษัทไปทำธุรกิจกับต่างชาติโดยเด็ดขาด ดังนั้น หากเราเจอว่า Broker จากญี่ปุ่น กำลังเปิดรับสมัครสมาชิก ก็อันตรายครับ

หากโบรกเกอร์ ไม่อยากถูกบังคับ ให้ปิดตัวลง เพราะกฏหมายและข้อบังคับของประเทศเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะไม่รับลูกค้าจากประเทศที่มีปัญหาครับ

ดังนั้น เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ประเทศที่เราจดทะเบียน และบริษัทที่เราลงทุนไม่เป็น DD แน่นอนว่า ต้องดูที่

1 เจ้าของบริษัท ที่อยู่ และประวัติ
2 ความโปร่งใสในการทำธุรกรรม เช่นการฝาก ถอน โอน สามารถตรวจสอบบกับ ธนาคารย้อนหลังได้
3 การบังคับใช้กฏหมาย ตาม AML
4 Liquid Provider มีทั้งแบบที่บังคับใช้กฏหมายเคร่งครัด และ ไม่สนใจกฏหมาย ซึ่งอย่างหลัง เมื่อ ฝากเงินเข้าไปแล้วอาจจะถอนไม่ได้ บางแห่งอาจจะโฆษณาว่า ส่ง 100% แต่ส่งให้กับ LP ที่เป็น B Book ก็ไม่ต่างอะไรกับเอาเงินไปลงทุนผิดที่ LP ที่มีการบังคับใช้กฏหมายเคร่งครัด จะคอยติดตามว่าเราส่งจริงหรือไม่ และดูความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
5 ความเสี่ยงต่างๆ ที่ Broker แบกรับ เช่น เราต้องคิดว่า ระบบต่างๆ มีค่าใช้จ่าย และ การตั้งค่า Spread และ Leverage สอดคล้องกับความเป็นจริงแค่ไหน เพราะ LP ให้ Leverage แค่ 1:100 ส่วนที่ Broker เพิ่มเติมให้ คือ ค่าความเสี่ยงที่ Broker ต้องแบกรับ
6 ความผิดปรกติของ กราฟ เช่น การ Repaint การ Requote การ Stop out การปิดคำสั่งไม่ได้ เป็นต้น
7 Platform เป็น สิ่งที่หลายๆคนมองข้าม เพราะ Platform ใหม่ๆ ในตลาด LP และธนาคาร ไม่รองรับ ก็อาจจะต้องโดนบังคับให้เชื่อมต่อกับ LP แบบ B Book ที่รับ
8 มีการ Ban เกิดขึ้นครับ และไม่คืนเงินให้ลูกค้า

การรับกินเองของโบรกเกอร์ ไม่ได้ ยากอย่างที่หลายคนคิด และการ Monitor ก็แทบไม่มีประโยชน์ครับ
1 ระบบ Back Office ของ Broker เกือบทุกระบบ มีการยอมรับให้ สามารถ Switch ระหว่าง ส่ง หรือ ไม่ส่ง LP ได้ โดยจะมีผลกับทั้งระบบหรือ เฉพาะตัวบัญชีได้
2 สถิติ เป็นสิ่งที่ทำให้ Broker ต้องการเปิด B Book กันมากเพราะ คนเทรดเสียมากกว่าเทรดชนะ
3 บางบริษัท ใช้วิธี จดทะเบียน เป็น 10 บริษัท และ บริษัทไหน ลูกค้าชนะ ก็ ปิดแล้วล้มละลาย เอาเงินถ่ายเทมาบริษัท ที่เหลือ หรือ เปิดใหม่ โดยไม่สนใจว่าจะต้องชดใช้เงินแก่ลูกค้า
4 FIX Spread เป็นไปไม่ได้ในตลาดจริง ครับ เพราะสภาพ คล่อง หรือ Liquidity เปลื่ยนอยู่ตลอดเวลา หาก สภาพคล่องน้อย Spread จะสูงขึ้น เช่น เวลาตลาดใกล้ปิด หรือ เวลาที่ตลาดส่วนใหญ่ ไม่มีความเคลื่อนไหว
หัวข้อ: Re: การบังคับใช้กฏหมายและความเข้มงวดของ Broker ในแต่ละประเทศ ที่จดทะเบียน
เริ่มหัวข้อโดย: narjant ที่ พฤศจิกายน 13, 2016, 09:15:44 AM
 m:17 m:17