Forex l หุ้น l การลงทุน l การซื้อขายออนไลน์ l ตลาดฟอร์เร็กซ์

สอนเล่น forex / บทความหน้ารู้ => Stock market ความรู้เกี่ยวกับหุ้น => พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุน => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ เมษายน 19, 2015, 09:27:28 PM

หัวข้อ: พฤติกรรมการลงทุน
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ เมษายน 19, 2015, 09:27:28 PM
  พฤติกรรมการลงทุน

                เคยมีคนกล่าวว่า  นักลงทุนที่จะทำกำไรจากการลงทุนคือนักลงทุนที่สามารถวิเคราะห์หามูลค่าหุ้นที่แท้จริงหรือมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมกับการลงทุนได้ อาจจะเป็นการใช้ทฤษฎีทางการเงิน  การวิเคราะห์โดยปัจจัยพื้นฐาน  หรือการวิเคราะห์ทางบัญชี  แล้วนำมาเปรียบเทียบกับราคาตลาด  หากมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาตลาด  ก็สามารถซื้อได้  หรือหากมูลค่าที่แท้จริงต่ำกว่าราคาตลาด  แสดงว่าหุ้นตัวนั้นมีราคาแพง  ควรจะขายทิ้งไป

                แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ แล้ว  วิธีต่าง ๆ ล้วนให้ตัวเลขที่ต่าง ๆ กัน  ยิ่งไปกว่านั้นการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในตลาดก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ มูลค่าหุ้นที่แท้จริงสักเท่าไร  เพราะมีปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งข่าวดี ข่าวร้าย แรงซื้อ แรงขาย และปัจจัยอื่น ๆ มาเป็นตัวกำหนด แม้มูลค่าที่แท้จริงจะสูงกว่าราคาตลาดอยู่มาก  แต่ราคาหุ้นก็ไม่ยอมขึ้นไปสะท้อนราคาที่เหมาะสม  หรือหุ้นที่ดูว่าแพงเกินพื้นฐานก็ไม่ตกลงมาสักที (ถ้าลงมาจะได้ซื้อ)

                ด้วยเหตุนี้ในระยะหลัง ๆ นักการเงินบางคนเริ่มมีความเชื่อว่า  ราคาหุ้นที่เหมาะสมจะลงทุนจะเท่ากับราคาตลาดเสมอ  นี่เป็นหลักการทางการตลาดอย่างหนึ่งที่กล่าวว่า  หากตลาดมีการซื้อขายอย่างมีอิสระแล้วหรือ ตลาดมีประสิทธิภาพเพียงพอ ราคาของสินค้าที่ซื้อขายอยู่ในขณะนั้น ๆ คือราคาที่เหมาะสม เช่น ราคาพืชผัก  หรือไข่ ที่มีการปรับตัวขึ้นลงอยู่เสมอ  หากเป็นหุ้น ก็คือ  ราคาหุ้น ณ ขณะใด ๆ จะสะท้อนมูลค่าที่เหมาะสมของบริษัทนั้น ๆ โดยไม่อิงกับมูลค่าที่แท้จริงที่หาได้จากทฤษฎีต่าง ๆ

                ท่านอาจยังสงสัยว่าแล้วถ้าหุ้นขึ้นไปล่ะ  ไม่ถือว่าแพงหรือ  คำตอบตามทฤษฎีนี้คือ ไม่แพง  เพราะมันเป็นราคาที่เหมาะสมกับพื้นฐานบริษัทและสภาวะแวดล้อมในขณะนั้นของมัน ยกตัวอย่างเช่น น้ำดื่มที่ขายอยู่ในสนามกีฬาแม้จะมีราคาแพงกว่าน้ำดื่มข้างนอกอยู่เกือบเท่าตัว   แต่มันก็เป็นราคาที่เหมาะสม  ถ้าคุณไม่ซื้อคนอื่นก็ซื้อไป  ส่วนหุ้นที่ราคาต่ำกว่าราคาพื้นฐานอย่างมาก  ก็ต่ำอยู่อย่างนั้นไม่ขึ้นสักที   ตามทฤษฎีนี้เราไม่สนว่าราคาพื้นฐานมันอยู่ที่เท่าใด  เพราะราคาที่เหมาะสมก็คือ  ราคาตอนนี้แหละ  โอกาสที่มันจะขึ้นหรือลงก็มีเท่า ๆ กัน  ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่จะมากระทบ

                ถ้ามูลค่าพื้นฐานไม่ได้เป็นตัวกำหนด การขึ้นลงของราคาหุ้นแล้วอะไรเป็นตัวกำหนดล่ะ? คำตอบก็คือ ความต้องการซื้อ (Demond)  และ ความต้องการขาย (Supply)  เป็นสิ่งที่ผลักดันราคาหุ้นให้ขึ้นหรือลง  เช่น หุ้นที่มีราคาแพงกว่าพื้นฐานมาก แต่หากมีคนต้องการซื้อมาก  ราคาก็สามารถปรับตัวขึ้นไปได้อีก  โดยเบื้องลึกของความต้องการซื้อและความต้องการขายนั้นเกิดจากความต้องการพื้นฐานเพียงอย่างเดียว คือ “กำไร” (หรือไม่ขาดทุน) ถึงตรงนี้ท่านที่เป็นนักการตลาด คงเริ่มเห็นแสงแล้วว่ากุญแจสำคัญของการลงทุนคือ การเข้าใจ “พฤติกรรมการลงทุน (Investor Behavior)” การทำความเข้าใจไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจพฤติกรรมการลงทุนของคนไม่กี่คน แต่ท่านต้องเข้าใจพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนทุก ๆ กลุ่ม  ทั้งรายย่อย  รายใหญ่  นักลงทุนสถาบัน นักลงทุนต่างชาติ และนักปั่นหุ้น

                ในบางครั้งท่านอาจสงสัยว่า  แล้วทำไมหุ้นกลุ่มนี้ถึงดี  และหุ้นกลุ่มนั้นถึงไม่ดี มันเป็นเพราะปัจจัยพื้นฐานไม่ใช่หรือ  คำตอบคือ  “ใช่”  และ “ไม่ใช่”  คำตอบแรก “ใช่”   เป็นเพราะปัจจัยพื้นฐาน ณ ขณะนั้น ๆ ของหุ้นทั้ง 2 กลุ่มที่ต่างกัน ทำให้นักลงทุนมองหุ้นทั้ง 2 กลุ่มต่างกัน  ส่วนคำตอบที่สอง “ไม่ใช่” เป็นการมองที่ลึกลงไปกว่านั้นอีกว่า ปัจจัยพื้นฐานไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ ราคาหุ้นทั้ง 2 กลุ่มเคลื่อนไหวต่างกัน  แต่เป็นพฤติกรรมของนักลงทุนที่ใช้ปัจจัยพื้นฐานเป็นตัวเปรียบเทียบราคาที่เหมาะสม  แล้วตัดสินใจซื้อ หรือไม่ซื้อต่างหาก  ที่ทำให้หุ้นทั้ง 2 กลุ่ม มีการเคลื่อนไหวต่าง ๆ กัน คือ ถ้าไม่มีนักลงทุนใช้ปัจจัยพื้นฐานเป็นตัวเปรียบเทียบราคา  ปัจจัยพื้นฐานจะไม่มีผลต่อราคาหุ้นเลย

                ท่านอาจสงสัยต่อว่า แล้วทำไมเพียงแค่การมองที่ต่างกัน ทำให้การเคลื่อนไหวต่างกันมากขนาดนี้ล่ะ  คำตอบก็คือ  เป็นเพราะคนส่วนใหญ่ ใช้การวิเคราะห์ทางพื้นฐานเป็นตัวเปรียบเทียบราคาหุ้นว่าถูก  หรือแพงเหมือนกัน  นั่นคือซื้อเมื่อ PE ต่ำ ๆ และขายเมื่อ PE สูง ๆ  หรือการมองเทคนิคว่าจะซื้อที่แนวรับและขายที่แนวต้านเหมือนกัน และสิ่งที่คนส่วนมากทำกันก็จะสะท้อนผลเป็นการเคลื่อนไหวของราคานั่นเอง

                การจะศึกษาพฤติกรรมการลงทุน ต้องใช้วิธีทางการตลาดมาเป็นแนวทางดังนั้นจึงอยากให้ท่านลองมองภาพตลาดหุ้นให้กว้างออกมา โดยเปรียบเทียบการเล่นหุ้นเป็นเสมือนกับการขายสินค้าของนักการตลาด ดังนี้ให้

                - บริษัทต่าง ๆ เป็นเสมือนสินค้า เช่น เป็นแชมพู  ซึ่งแชมพูก็มีอยู่หลายยี่ห้อ

                - พื้นฐานบริษัทเป็นเสมือนคุณภาพสินค้า เช่น ค่า PE คือ ทำให้ผมนุ่มค่า PBV คือ กลิ่นหอม ซึ่งสินค้าที่มีคุณภาพดีไม่จำเป็นจะต้องขายดีกว่า สินค้าที่มีคุณภาพด้อยกว่า เพราะลูกค้าแต่ละคนมองไม่เหมือนกัน

                - ผลการวิเคราะห์พื้นฐานเป็นเสมือนหีบห่อภายนอก  ซึ่งหากดูดี  ก็น่าซื้อ, หีบห่อภายนอกที่ดูดีทำให้รู้สึกว่าคุณภาพสินค้าภายในน่าจะดี  ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจไม่เป็นอย่างนั้น

                - การเคลื่อนไหวของราคาเป็นเสมือนการขึ้นลงของราคาสินค้า ราคาถูกก็น่าซื้อ

                - บทวิเคราะห์, ข่าวต่าง ๆ เป็นเสมือนการโฆษณา  ซื้อเพราะเชื่อตามโฆษณา “ว่าดี”

                - นักลงทุน เป็นเสมือน  ผู้เลือกใช้สินค้า ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีการเลือกซื้อที่ต่าง ๆ กัน

                หลังจากนั้น ว่าง ๆ ท่านลองมอง ตลาดหุ้นเป็น การซื้อขายสินค้า ดูเล่น ๆ สัก 2-3 วัน ก็จะเริ่มเห็นภาพแบบมุมกว้าง “อ๋อ ช่วงนี้คนสนใจ GOLD เพราะมีโฆษณาออกมา (ข่าวทั้งตรง และแว่ว ๆ ตามห้องค้า) หีบห่อภายนอกหน้าตาใหม่ดูดีขึ้น  (ผลการวิเคราะห์พื้นฐานดูดีขึ้น)  แต่ความเป็นจริงคุณภาพก็ยังไม่ค่อยดี (พื้นฐานจริง ๆ ก็คล้ายเดิม)  มองแล้วรู้สึกเหมือนพวกสินค้าที่ออกมาใหม่ (Relaunch) ที่คงจะขายดีในช่วงนี้” การมองแบบการตลาด เป็นการฝึกให้ท่านเริ่มมองตลาดหุ้นในมุมมองที่ต่างออกไป  เพื่อเริ่มทำการศึกษาต่อ

                ก่อนจะเริ่มต้นเรื่องจิตวิทยา  ลองมาดู มูลค่าหุ้น – ราคาหุ้น และการขึ้นลง ว่าเป็นอย่างไร

 



 

                สำหรับบริษัทที่ไม่มีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มูลค่าหุ้นจะดูได้ง่าย ๆ จากมูลค่าหุ้นตามบัญชี (X)  ซึ่งเกิดจาก ทรัพย์สิน หนี้สิน และกำไรสะสม ในภาพนี้เราเปรียบมูลค่าเสมือนระดับน้ำ  ที่เพิ่มขึ้นตามกำไรที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงหากบริษัทขาดทุนเรื่อย ๆ

                แต่หากบริษัทมีการซื้อขายโดยนักลงทุนทั่วไป  มูลค่าที่แท้จริงจะหาได้ยากมาก  สิ่งที่มองเห็นคือ ราคาที่เราซื้อขายกันในตลาด (ราคาตลาด) ซึ่งในภาพจะเป็นราคาหุ้น ของบริษัทในขณะต่าง ๆ ซึ่งตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า  เราเปรียบมูลค่าเป็นระดับน้ำ  ซึ่งในขณะที่ไม่มีการซื้อขายมูลค่าของบริษัทจะมาจากกำไรจากการดำเนินงาน (รายได้ น้ำไหลเข้า, รายจ่าย น้ำไหลออก)   แต่เมื่อบริษัทมีการซื้อขาย ราคาจะไม่เท่ากับมูลค่าที่แท้จริงแต่จะมีการขึ้นลงตามความต้องการซื้อ ในภาพเราเปรียบเป็นจำนวนเหรียญ หากมีความต้องการซื้อมากจำนวนเหรียญก็จะเพิ่มขึ้น ระดับน้ำก็จะเพิ่มสูงขึ้น  ในทางตรงกันข้าม  หากมีข่าวไม่ดีออกมา คนก็อยากขายออก  ใครขายก่อนก็หยิบเหรียญไปได้มากกว่า เมื่อเหรียญถูกหยิบไปเรื่อย ๆ ระดับน้ำก็จะลดลง (ราคาหุ้นก็ตกต่ำลง)





                จากลักษณะที่กล่าวมานั้น  เราจึงทดลองสร้างเกมขึ้นมา 1 เกม เรียกว่า “เกมซื้อขายระดับน้ำ” เพื่อทำการศึกษาพฤติกรรมการซื้อขายแบบคร่าว ๆ

วิธีการเล่น เราจะมีถังน้ำที่ขีดเส้นบอกระดับน้ำอยู่  3 ใบ ซึ่งข้างในจะมีขันลอยอยู่ การเล่น 1 เกมจะแบ่งออกเป็น 30 รอบ  ซึ่งแต่ละรอบจะมีการเติมน้ำเข้าไปหรือตักน้ำออกมา (เปรียบเสมือนผลประกอบการ)

กติกา มีอยู่ว่า ให้คนเล่นใส่ก้อนหินลงมาตามระดับน้ำ หากระดับน้ำต่ำก็ใส่น้อยหากระดับน้ำสูงต้องใส่มาก  ในขณะเดียวกัน ถ้าท่านใส่หินลงไปแล้ว ท่านมีสิทธิหยิบหินคืนไปตามระดับน้ำเช่นกัน ถ้าระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ท่านก็สามารถหยิบหินออกได้มาก


เกมที่ 1  : มีผู้เล่น 5 คน เรามีการใส่น้ำเข้าไปทุกรอบ รอบละ 1 ขีดเท่ากันทุกถัง

ผลการเล่น นักเล่นแต่ละคนต่างมีวิธีการเล่นที่แตกต่างกันไป  แต่ส่วนมากจะเลือกใส่หินในถังที่มีคนสนใจเล่นด้วย  เพราะระดับน้ำเพิ่มขึ้นเร็วกว่า บางคนชอบที่จะเอาหินออกเมื่อระดับน้ำเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย (3 – 4 รอบการเล่น เปรียบเป็นการลงทุนระยะสั้น)  บางคนก็เลือกที่จะใส่มาก ๆ ในครั้งแรก ๆ แล้วทิ้งไว้จนจะจบเกม (เปรียบเป็นการลงทุนระยะยาว) แต่ในรอบใดที่มีคนเอาหินออกมามาก รอบถัดไปเกือบทุกคนจะเอาหินออกตามจำนวนมาก  ทำให้ระดับน้ำลงอย่างเร็ว (เป็นการตกลงใจและรับเอากำไรกันไว้ก่อน)


เกมที่ 2  : ผู้เล่น 5 คนเดิม, แต่คราวนี้เรามีการให้หินเพิ่มขึ้น ทุก ๆ 10 รอบ การเล่น และมีการใส่น้ำในแต่ละรอบเพิ่มขึ้น

ผลการเล่น : ผลการเล่นจะคล้าย ๆ กับเกมที่ 1  เพียงแต่คราวนี้ผู้เล่นจะเริ่มรู้จักลักษณะการเล่นของกันและกันมากขึ้น  มีผู้เล่นท่านหนึ่งที่มักจะขาย และซื้อก่อนคนอื่น ๆ เสมอ  ทำให้ได้กำไรมากกว่า การเล่นในรอบนี้ทุกคนจะใส่หินเพิ่มมากกว่ารอบก่อน ๆ เสมอ ทำให้ได้กำไรมากกว่า  การเล่นในรอบนี้ทุกคนจะใส่หินมากกว่ารอบก่อน ๆ  และการเอาหินออกก็มีน้อยครั้งกว่า  เพราะแต่ละคนได้รับหินเพิ่มขึ้นในรอบที่ 10 และรอบที่ 20 (รอบนี้เปรียบเสมือนช่วงที่เศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งทุกคนจะได้หินเพิ่มจึงใส่หินมากกว่าการเอาออกในรอบแรก  และการที่แต่ละคนรู้ว่าเห็นว่าเพื่อนร่วมเล่นเอาหินออกน้อยลง  จึงกล้าที่จะทิ้งไว้เรื่อยเพื่อรอให้ระดับน้ำค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งคล้ายว่าทุกคนอยากที่จะได้กำไรมากกว่ารอบแรกและมั่นใจว่าคนอื่นติดคล้ายๆ กัน)


เกมที่ 3 : ผู้เล่น 5 คนเดิม, และเรามีการให้หินเพิ่มขึ้น ทุก ๆ 10 รอบการเล่น (เหมือนเกมที่ 2) แต่ในเกมนี้ ที่รอบที่ 12  เรามีการตักน้ำออกจากถังที่ 1 ครึ่งถัง (บริษัทขาดทุน) และในรอบที่ 15 เราบอกว่า ในรอบที่ 20  จะใส่น้ำในถังที่ 2  เพิ่มขึ้นเป็นครั้งละ 2 ขีด (ออกข่าวว่า  บริษัทที่ 2 จะมีผลการดำเนินงานดีขึ้น)

ผลการเล่น ก็เป็นอย่างที่เราคาดไว้ คือ จากการที่คนเล่นเริ่มรู้ใจกันมากขึ้นจึงไว้ใจกันและไม่ค่อยมีการเอาหินออกมา จนกระทั่งในรอบที่ 12  ที่เรามีการตักน้ำออกไปจากถังที่  1 รอบต่อมา (รอบที่ 13) คนเล่น 4 คน เลือกที่จะเอาหินออกจากถังที่ 1  ทำให้น้ำในถังที่ 1 ยิ่งลดลงไปอีก  ในรอบที่ 16  หลังจากที่เราประกาศว่าจะเพิ่มน้ำในถังที่ 1 ยิ่งลดลงไปอีก ในรอบที่ 16  หลังจากที่เราประกาศว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในรอบที่ 16-20 แต่ในรอบที่ 22  เมื่อคนเล่นคนหนึ่ง (ซึ่งเป็นคนที่กำไรมากที่สุด) เลือกที่จะเอาหินออกเพราะเห็นว่ากำไรมากแล้ว รอบต่อมาคนอื่นก็เลือกที่จะเอาหินออกตามมา แม้น้ำในถังจะเพิ่มขึ้นมากกว่าถังอื่น ๆ

                จากการเล่นเกมทั้ง 3 เกม (90 รอบ) เราได้พฤติกรรมการเล่นเป็นไปตามที่เราคาดการณ์ไว้ เพราะมันเป็นจิตวิทยาการเล่นที่คล้าย ๆ กับการลงทุนในตลาดหุ้น ทุกคนจะมีความโลภ และความกลัวอยู่ตลอดเวลา คนส่วนมากเลือกที่จะเล่นในถังที่มีคนสนใจมาก ๆ บางคนทำกำไรสั้น ๆ บางคนเล่นแบบยาว ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติที่เรารู้อยู่แล้ว แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ มีอยู่ท่านหนึ่งที่ได้กำไรมากกว่าท่านอื่น ๆ เสมอ แม้วิธีการเล่นไม่แตกต่างจากท่านอื่นนัก  แต่เขาสามารถซื้อและขายได้ก่อนคนอื่นๆ ซึ่งจากการถามดูจึงรู้เทคนิคคร่าวๆ ว่า เขาไม่ได้สนใจในเรื่องระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น  (ราคาหุ้นที่ขึ้น หรือลง) แต่เขาจะสนใจว่าเพื่อนๆ  จะมีการเล่นแบบใด และเดาใจคนอื่น ๆ ไว้ ซึ่งส่วนมากจะถูก

                จากสิ่งที่ได้รับฟัง เราจึงเริ่มเล่นเกมที่ 4  เพื่อทดสอบวิธีการเล่นของผู้ชนะท่านนี้ โดยใช้สภาวะเหมือนกับเกมที่ 2 แต่เรามีการเปลี่ยนผู้เล่นใหม่ 3 ท่าน และในรอบที่ 15 และ รอบที่ 20 เราจะมีการกลับคำสั่งของผู้เล่นอีก 4 คน จาก “ใส่เพิ่ม” เป็น “เอาออก” และจาก “เอาออก” เป็น “ใส่เพิ่ม”


เกมที่ 4

ผลการเล่น : ในเกมนี้ ผู้เล่นท่านใหม่ก็มีลักษณะการเล่นที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อเล่นไปหลาย ๆ รอบก็เริ่มจับทิศทางกันได้  แต่เนื่องจากเรามีการกลับคำสั่งทำให้การเล่นไม่เป็นตามรูปแบบที่เคยเล่นกัน ผู้เล่นที่เคยชนะในเกมก่อน ๆ คราวนี้ไม่สามารถซื้อหรือขายออกไปก่อนได้ แต่ต้องตกใจขายตามผู้อื่น เมื่อผู้อื่นขายไปพร้อม ๆ กัน และเกมนี้เขาก็ทำกำไรได้น้อยลง  เป็นเพราะเขาไม่สามารถคาดเดาพฤติกรรมของเพื่อนผู้ร่วมเล่นได้

                บทสรุปจากเกมทั้ง 4 ทำให้เรารู้ว่า สิ่งที่เราควรสนใจในการเล่นไม่ใช่ที่ระดับน้ำ  แต่เป็นการเพิ่มขึ้น และลดลงของก้อนหินมากกว่า การที่จะรู้ว่าหินจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น  เราต้องรู้ถึงลักษณะของคนที่เราเล่นด้วยว่า  ปัจจัยอะไรที่ทำให้เขาใส่หินเพิ่มขึ้นมาหรือเอาออกมา  ปัจจัยที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เพียงเรื่องเศรษฐกิจที่ทำให้คนเล่นกล้าที่จะใส่มากกว่าเอาออก  หรือ เรื่องการเก็งกำไรเมื่อน้ำจะเพิ่มขึ้น อย่างในเกมที่ 3 แต่เป็นการมองไปในอนาคตว่า ในอีก 2-3 รอบ ผู้เล่นท่านอื่น ๆ จะทำอะไรกัน

                หากเปรียบเทียบเกมเป็นการเล่นหุ้น  ก็คือผู้ชนะจะไม่ได้ใส่ใจกับพื้นฐานบริษัท หรือราคาหุ้นเลย แต่จะสนใจที่ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาหุ้นเป็นสำคัญ  และคาดเดาล่วงหน้าว่าคู่แข่งในเกมจะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับบรรดาหุ้นที่เปลี่ยนไป แล้วลงมือก่อน

                ในการเล่นเกมผู้เล่นน่าที่จะสามารถตัดสินใจกันได้ดีกว่าการลงทุนจริง เพราะผู้เล่นจะไม่คิดมากจนขาดเหตุผล  และผู้เล่นสามารถมองเกมได้ง่ายกว่าเพราะมีผู้เล่นอยู่น้อยราย แต่สิ่งที่สำคัญคือ ผู้เล่นสามารถมองภาพของเกมในมุมมองที่กว้างได้ว่าคนอื่นจะทำอะไรแม้จะมีการพูดจาหลอกล่อกันบ้าง ในการลงทุนจริงบางครั้งเราจะได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ ไม่ว่าจะเป็นข่าว บทวิเคราะห์หรือการแนะนำของใครสักคน  ซึ่งหากผู้รู้ทั้งหลายบอกว่าหุ้นกำลังเพิ่มขึ้น คนจะยอมซื้อเพิ่มเพราะอยากได้กำไรง่าย ในทางกลับกัน หากท่านผู้รู้บอกว่าหุ้นกำลังลดลง คนก็จะแย่งกันขายออกมาเพราะขายก่อนก็ได้มากกว่า ขายหลังก็ได้น้อยกว่า สิ่งที่สำคัญในการฟังผู้รู้ทั้งหลาย  ไม่ว่าจะเป็นข่าว โบรกเกอร์  ท่านอาจารย์หรือเพื่อนต่าง ๆ ท่านต้องพิจารณาด้วยว่า ท่านผู้รู้ทั้งหลายเล่นอยู่กับเราด้วยหรือเปล่าหรือท่านเหล่านั้นแอบซื้อไว้ก่อนแล้ว


การศึกษาพฤติกรรมนักลงทุนโดยใช้หลักการตลาด

                จากการที่เราได้ทำการทดลองเล่นเกม ทำให้เรารู้ว่าหากเราสามารถรู้ว่าคนที่เล่นอยู่กับเราคิดอย่างไร  โอกาสที่เราจะสามารถตัดสินใจได้ก่อน  และเทำกำไรก็มีมากขึ้น  ซึ่งวิธีการศึกษาพฤติกรรมของนักลงทุนที่ดี คือ การนำทฤษฎีทางการตลาดมาใช้