Forex l หุ้น l การลงทุน l การซื้อขายออนไลน์ l ตลาดฟอร์เร็กซ์

สอนเล่น forex / บทความหน้ารู้ => Stock market ความรู้เกี่ยวกับหุ้น => การปรับกลยุทธ์ในการเล่น => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ เมษายน 19, 2015, 08:47:15 PM

หัวข้อ: กลยุทธ์การขาย และการตัดขาดทุน
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ เมษายน 19, 2015, 08:47:15 PM
กลยุทธ์การขาย

                การซื้อหุ้นที่ดูเหมือนยาก  แต่การขายหุ้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ทั้งขายขาดทุนหรือการขายเมื่อมีกำไร  การขายเมื่อมีกำไรเหมือนกับเวลาเราดูละครเพลิน ๆ แต่มีธุระต้องไปทำ  แม้เราจะรู้ว่าถึงเวลาแล้วแต่ก็ตัดใจเลิกดูในทันที  ไม่ได้เทคนิคการขายจะไม่ได้เป็นเรื่องยากเลย  หากคุณมีการวางแผนการลงทุนที่ชัดเจน และที่สำคัญกว่าการวางแผนคือ การจำได้ว่าแผนการที่วางไว้  ที่เราตั้งใจจะทำมันคืออะไร  แล้วทำมันซะ  ดังนั้นจึงมีเพียง  ข้อคิดเล็ก ๆ ที่จะฝากไว้ในเรื่องการขายนั่นคือ

                - หากหุ้นตัวใดตั้งใจว่าจะถือยาว ก็ควรจะปล่อยให้กำไรมันเติบโตไป

                - การขายไม่จำเป็นจะต้องขายหุ้นที่กำไรมากที่สุดออกก่อน

                - จุดขายที่ดี  คือขายที่จุดแนวต้าน  เพราะเป็นจุดที่หุ้นมีความเสี่ยงที่จะลงสูงกว่าที่ราคาทั่วไป

                - หุ้นที่เราซื้อเพื่อการเก็งกำไรระยะสั้น อย่าปล่อยไว้นาน  แม้ราคาอาจยังไม่ไปถึงเป้าหมาย  เพราะการทิ้งไว้จะเกิดการเสี่ยงตามเวลาที่เพิ่มขึ้น (เสี่ยงต่อสิ่งที่จะเกิด)

                - ในหลาย ๆ ครั้งที่เราขายแล้วหุ้นขึ้นต่อ จงดีใจแล้วถือว่า  เป็นมารยาทที่ดีที่จะให้คนที่ซื้อต่อจากเราได้มีกำไรบ้าง  เพราะเขาจะรับเอาความเสี่ยงของเราไปด้วย

                - หากเรามีการวิเคราะห์ไว้ดีแล้ว  จุดที่เราขายมักจะไม่ไกลจากจุดสูงสุดเท่าใดนัก

                - บางครั้งท่านต้องรู้จักตัดขาดทุน


การตัดขาดทุน (Cut Loss)

                การตัดขาดทุน ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Cut Loss หรือ Stop Loss  ซึ่งความหมายก็คือ  การหยุดการขาดทุน  เราจะยอมขาดทุนเพียงเท่านี้ไม่ยอมขาดทุนเพิ่ม  นักค้าหุ้นที่ดีต้องไม่กลัว และรู้จักยอมรับ  การขาดทุนบ้าง  แต่จะนำเอาความกลัวขาดทุนมาสร้างเป็นเทคนิคในการป้องกันความเสี่ยง

                เพราะการซื้อหุ้นย่อมมีโอกาสผิดพลาดได้  หากเมื่อใดที่คุณผิดพลาดขายก็ไม่ขาดทุน แต่จริงๆ  แล้ว  เราจะทั้งขาดทุนและเสียงโอกาส  ยิ่งไปกว่านั้นสักวันหนึ่งหุ้นที่มีอยู่ในพอร์ตทั้งหมดก็จะมีแต่หุ้นที่ขาดทุน

                แต่ไม่ใช่ว่าทุกครั้งที่ขาดทุนแล้วจะต้องตัดขาดทุนตลอด  แต่ท่านจะตัดขาดทุนเมื่อ

               1) การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่ ซื้อไว้ไม่เป็นไปตามที่คาดคะเนไว้เมื่อตอนก่อนจะซื้อ นั่นคือ คาดว่าราคาจะปรับสูงขึ้น  แต่กลับลดลงหรือซึมคงที่อยู่เป็นเวลานาน  การขายตัดขาดทุนออกไปจึงเป็นการปรับเปลี่ยนแผนการเล่นหุ้นให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง คือ เมื่อหุ้นตัวนั้นดูแล้วไม่มีอนาคตก็ไม่ควรถือไว้อีกต่อไป  ควรขายออกไปก่อน แม้จะต้องขาดทุนก็ตาม  เพราะเป็นการขาดทุนที่แลกกับโอกาสที่ดีกว่า แทนที่จะต้องรอไปเรื่อยๆ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะต้องรอไปอีกนานเท่าไร

                2) คาดคะเนว่าแนวโน้มของราคาหุ้นตัวนั้นจะลดลงไปเรื่อยๆ  ก็ควรจะขายตัดขาดทุนออกไปและถือเป็นเงินสดไว้  การถือเงินสดไว้มีข้อดีตรงที่ว่า ค่าของมันไม่ได้ลดลงตามราคาหุ้น  ในขณะที่ราคาหุ้นตัวนั้นสามารถจะลดลงไปได้เรื่อยๆ การตัดขาดทุนแล้วถือเป็นเงินสดเพื่อจะได้จ้องหาจังหวะซื้อหุ้นตัวอื่นที่ดีกว่า  จึงนับเป็นการขาดทุนเพื่อซื้อโอกาสทำกำไร

               3) คาดคะเนว่าภาวะตลาดหุ้นจะอยู่ในระยะแนวโน้มหุ้นขาลง (downtrend)  และทำท่าว่าจะตกต่ำอยู่เป็นระยะเวลานานนับเดือนหรือเป็นปี ดังเช่นช่วงที่เกิดภาวะวิกฤติทางการเงิน ในปี 40-43  คุณก็ควรจะขายตัดขาดทุนออกไปก่อน ซึ่งอาจจะต้องถึงขั้นขายหุ้นในมือออกไปให้หมด  หรือที่เรียกว่า “ล้างพอร์ต”  เลยทีเดียว  เพราะขืนถือหุ้นไว้มูลค่าหุ้นในมือก็มีแต่จะลดลงเรื่อย ๆ เปลี่ยนเป็นถือเงินสดมูลค่ายังจะไม่ลดลงไปกว่านั้น

               4) แน่ใจว่ามีหุ้นตัวอื่นที่มีอนาคตดีกว่าหุ้นที่คุณถืออยู่  คุณก็ควรขายตัดขาดทุนออกไป เพื่อเปลี่ยนไปถือหุ้นที่มีโอกาสได้กำไรเร็วกว่า  แทนที่จะจมปลักอยู่กับหุ้นที่คุณคิดว่า “เน่า”  แล้วการตัดขาดทุนเพื่อเปลี่ยนเป็นหุ้นที่ดีกว่าใช้ได้เสมอไม่ว่าสภาพตลาดจะเป็นขาขึ้นหรือขาลงก็ตาม

               5) ต้องการลดความรู้สึกอึดอัดหรือถูกกดดัน  เมื่อเห็นว่าราคาหุ้นบางตัวในมือมีราคาลดลงไปถึง 10 – 15%  แล้ว  และดูไม่มีทีท่าว่าจะปรับสูงขึ้น สภาพการซื้อขายหุ้นตัวนั้นก็ซบเซา ในขณะเดียวกัน หุ้นตัวอื่นๆ  ในมือก็มีราคาทรง ๆ  ไม่มีโอกาสทำกำไร  คุณเองก็หมดเงินทุน   หรือลงทุนไปมากแล้วไม่ต้องการลงทุนเพิ่ม  รู้สึกอึดอัดกับภาวะที่ “ทำอะไรไม่ได้” ในขณะที่ภาวะตลาดก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร  เพียงแต่หุ้นในมือของคุณมัน “อืด”  เต็มที่เท่านั้น  แบบนี้คุณก็ควรยอมขายตัดขาดทุนหุ้นตัวที่คาดว่าจะซบเซายาวนานออกไป  ความรู้สึกทางจิตจะได้ดีขึ้น  และก็จะสามารถทำอะไรได้ดีเมื่อจิตใจคุณปลอดโปร่ง

                การตัดขาดทุนคือ  การบ่งหนามออก ซึ่งอาจจะเจ็บบ้าง  แต่เมื่อคุณหายดีแล้วจะได้เริ่มต้นทำงานได้ดีขึ้น  แต่ในบางครั้งเมื่อคุณขายไปแล้ว หุ้นทำท่าว่าจะดีขึ้น จงอย่าไปเสียดายกับมัน จงมั่นใจในสิ่งที่คุณทำ  เพราะสิ่งเหล่านี้จะดูเพียงระยะสั้น ๆ ครั้งสองครั้งไม่ได้  จะต้องดูยาว ๆ ไป ส่วนที่ได้จะมีมากกว่าส่วนที่เสีย